การเลือกตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสม (Installation) มีเทคนิคอย่างไร ?

แฟนคอยล์ ยูนิต

– ถ้าเป็นห้องนอนควรวางให้ลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าด้านข้างลำตัวขณะนอนเสมอ เพราะถ้าให้ลมพัดจากศีรษะไปเท้า หรือเท้าไปศีรษะ จะส่งผลให้ไม่สบายได้ง่าย

– ไม่ควรวางเครื่องไว้เหนือเตียง เนื่องจากในการดูแลรักษา จะต้องมีการล้าง และปัดฝุ่นที่ฟิลเตอร์อยู่บ่อยๆ จะทำให้เตียงสกปรกง่าย ดังนั้นควรติดตั้งในบริเวณที่จะสามารถทำการซ่อม บริการได้สะดวก

– อย่าตั้งอุณหภูมิให้เย็นเกินไป เพราะเมื่อนอนหลับแล้ว เราจะไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้อีก ทำให้ไม่สบายได้ง่ายเช่นกัน หรือหากทีรีโมทคอนโทรลก็ควรจัดให้อยู่ใกล้เตียง

– หากมีพื้นที่นั่งเล่นอยู่ในห้องนอน ก็ควรจัดให้ตำแหน่งเครื่องปรับอากาศส่งความเย็นไปหามากกว่าส่วนที่ใช้นอน เนื่องจากขณะนอนหลับเราต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ

– ควรวางแฟนคอยล์ยูนิตให้ใกล้ช่องเปิดหรือระเบียงที่มีคอนเดนซิ่งยูนิต วางอยู่ เพื่อความสะดวกในการติดตั้งและดูแลรักษา

คอนเดนซิ่ง ยูนิต

– บริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก

– ควรเว้นระยะห่างจากกำแพงมาถึงด้านหลังเครื่องไม่น้อยกว่า 10 ซม. และเว้นระยะด้านหน้าเครื่องไม่น้อยกว่า 70 ซม.

– ไม่โดนฝนสาดได้ง่าย

– บริเวณไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรงตลอดเวลา

– บริเวณที่สามารถปล่อยให้เสียงและลมร้อนระบายออกมาได้โดยไม่รบกวนบริเวณข้างเคียง

– ตำแหน่งติดตั้งควรมีโครงสร้างแข็งแรงหรือใกล้คานหรือเสาเพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดี

– ตัวเครื่องควรยกระดับให้พ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือพ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง และในบริเวณที่สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย

– หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสติดไฟ เนื่องจากน้ำยาแอร์เป็นแก๊สชนิดหนึ่งที่สามารถติดไฟได้ง่ายถ้ารั่ว

– หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกรดซัลไฟด์ เช่นบริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง เพราะสารทำความเย็นจะเกิดปฏิกิริยากับกรดซัลไฟด์ ทำให้เกิดแก๊สมีพิษต่อร่างกายเมื่อสูดดม

– ตำแหน่งที่ไม่กีดขวางทางเดิน

การทำความสะอาดภายในโดยช่างผู้ชำนาญ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน แต่อาจไม่บ่อยเท่ากับการทำความสะอาดด้วยตนเอง โดยอาจจะทำ 3-6 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน การล้างภายในต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ
เนื่องจากต้องมีการถอดชิ้นส่วนบางชิ้น เช่นถอดถาดน้ำทิ้งมาล้างเพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดทำความสะอาดแผงคอยล์
การตรวจเช็คสภาพ เป็นการตรวจเช็คระบบทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วจะทำพร้อมกับการล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญ

  • วัดความดันน้ำยาในระบบว่าเพียงพอหรือไม่
  • ตรวจระบบไฟฟ้า เช่นสภาพของสายไฟ
  • หยอดน้ำมันมอเตอร์พัดลมทั้งที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น
  • ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต